วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ


วันจันทร์  ที่  28  มีนาคม  2559
ครั้งที่  13  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting

 ความรู้ที่ได้รับ

          ทดลองการสอนในกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

         กิจกรรมเสริมประสบการณ์

                    -  หน่วยเห็ด (การเพาะเห็ดนางฟ้า)
                    -  หน่วยผัก (การเลือกซื้อผัก) และ (ประโยชน์)
                    -  หน่วยยานพาหนะ (ประเภทของยานพาหนะ)
                    -  หน่วยผีเสื้อ (วงจรชีวิต ที่อยู่อาศัย อาหาร และยารักษาโรค)

        กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


                    -  หน่วยเห็ด (การเคลื่อนไหวประกอบเพลง)

                    -  หน่วยยานพาหนะ (เคลื่อนไหวแบบความจำ)
                    -  หน่วยกล้วย (เคลื่อนไหวตามจินตนาการ)
                    -  หน่วยผีเสื้อ (เคลื่อนไหวตามคำสั่ง)
                    -  หน่วยส้ม (เคลื่อนไหวตามคำสั่ง) และ (เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม)

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 1 หน่วยเห็ด (การเพาะเห็ดนางฟ้า) โดย นางสาวภัสสร  ศรีพวาทกุล



คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  สาระที่ควรเรียนรู้ ควรเขียนอธิบายขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้าแบบสรุปสั้นๆด้วย
                    -  การผสมส่วนผสมการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ครูควรใส่ถุงมือหรือใช้ช้อนตัก 
                    -  แผ่นชาร์ท ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า ควรวาดรูปประกอบในแต่ละขั้นตอน
                    -  ครูอาจให้เด็กมีส่วนร่วมได้ โดยการให้เด็กออกมาช่วยครูตักส่วนผสมลงในถุงก่อน

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 2 หน่วยผัก (การเลือกซื้อผัก) และ (ประโยชน์) โดย นางสาวทิพย์มณี   สมศรี


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ครูควรใส่หัวข้อของผักลงในแผ่นชาทด้วย
                    -  ควรมีประเภทของผักให้ครบทุกประเภทตามที่เขียนไว้ในแผนการสอน


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

   กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ ( ประเภทของยานพาหนะ ) โดย นางสาวอรุณี พระนารินทร์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  สอนไม่ตรงตามสาระการเรียนรู้ที่เขียนไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ 
                    -  การนำโดยการใช้ปริษนาคำทาย ควรใช้ในวันที่ 2 ครูควรเน้นการสอนการใช้พลังงานในยานพาหนะประเภทต่างๆ มากกว่าการดูแลรักษายานพาหนะ

                    -  ครูควรเปลี่ยนหัวข้อการสอน เพราะสอนซ้ำ เช่น ประเภทการใช้พลังงานของยานพาหะ


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 4 หน่วยผีเสื้อ ( การดำรงชีวิต ) โดย นายวรมิตร  สุภาพ

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
 
                    -  เขียนแผนได้ละเอียดและสอนเป็นลำดับขั้นได้ดี



กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  กลุ่มที่ 1 หน่วยเห็ด ( การเคลื่อนไหวประกอบเพลง ) โดย นางสาวสุนิสา  บุดดารวม



คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                  - การจัดกลุ่มในการเคลื่อนไหว ควรใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การใช้สัญลักษณ์ การแจกภาพ เป็นต้น นอกเหนือจากจากนับเลข 


  กลุ่มที่ 2 หน่วยยานพาหนะ ( การเคลื่อนไหวแบบความจำ ) โดย นางสาวประภัสสร  หนูศิริ


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
             
                   - ควรใช้คำว่าสคิป แทนคำว่า ก้าวชิดก้าว


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  กลุ่มที่ 3 หน่วยกล้วย (เคลื่อนไหวตามจินตนาการ ) โดย นาวสาวสุธิดารัตน์  เกิดบุญมี


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                   -  คำบรรยาย ควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้



กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ


 กลุ่มที่ 4 หน่วยผีเสื้อ ( เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ) โดย นางสาวดวงกมล   คันตะลี


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
 
               - ครูใช้คำพูดไม่ถูก ครูจะต้องบอกว่าหนอนูผีเสื้อกัดใบไม้ทำให้ใบเสิยหายไม่ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจจะทำให้ผักเสียหาย และจะทำให้ผักมีราคาลดลง เป็นต้น




กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

 กลุ่มที่ 5 หน่วยส้ม (เคลื่อนไหวตามคำสั่ง)  โดย นางสาวบุษราคัม  สะรุโน


 คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


                    -  สอนไม่ตรงตามแผนที่เขียนมา

                    -  ยกตัวอย่าง เข่น ครูพูดคำไหนให้เด็กนับจำนวนพยางค์ และทำท่าให้สัมพันธ์กับจำนวนพยางค์ที่ครูพูด เช่น ถ้าครูพูดเยลลี่ส้ม ให้เด็กปรบมือ 3 ครั้ง ถ้าครูพูดซาลาเปารสส้ม ให้เด็กกระโดด 5 ครั้ง และถ้าครูพูดแยมส้ม ให้เด็กก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว เป็นต้น


 กลุ่มที่  5 หน่วยส้ม ( การเคลื่อนไหวแบบความจำ )  โดย นางสาวมธุรินทร์  อ่อนพิมพ์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
              
                   -  ครูต้องให้เด็กทบทวนเพลงก่อน 1 รอบ ก่อนให้เด้กเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม



 การนำไปใช้


               การนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองในครั้งต่อไป


การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป