วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ


วันจันทร์  ที่  21  มีนาคม  2559
ครั้งที่  11  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting

 ความรู้ที่ได้รับ

         ทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ในวันจันทร์ ดังนี้
                                 
                    -  หน่วยส้ม ( ลักษณะของส้ม )
                    -  หน่วยผีเสื้อ ( ชนิดของผีเสื้อ )
                    -  หน่วยผัก ( ประเภทของผัก )
                    -  หน่วยยานพาหะนะ ( ประเภทของยานพาหะนะ )
                    -  หน่วยกล้วย  ( ชนิดของกล้วย )
                    -  หน่วยเห็ด  ( ชนิดของเห็ด )

          ทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในวันอังคาร ดังนี้

                    -  หน่วยส้ม  ( เคลื่อนไหวตามคำสั่ง )
                    -  หน่วยผีเสื้อ ( เคลื่อนไหวประกอบเพลง )
                    -  หน่วยผัก ( เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม )
                    -  หน่วยยานพาหะนะ ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย )
                    -  หน่วยกล้วย ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย )
                    -  หน่วยเห็ด  ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย )

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

      กลุ่มที่ 1 หน่วยส้ม ( ลักษณะของส้ม ) โดย นางสาว มธุรินทร์ อ่อนพิมพ์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  การเขียนแผน ควรใช้ปากกาเขียน ไม่ควรใช้ดินสอ
                    -   วิธีการเรียนรู้ได้ดีของเด็กคือ การสังเกต การสัมผัส 
                    -   ในการสอนลักษณะส้ม ไม่ควรใช้การบรรยายโดยครูอย่างเดียว ควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือตอบคำถาม

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

      กลุ่มที่ 2 หน่วยผีเสื้อ ( ชนิดของผีเสื้อ ) โดยนางสาวกัตติกา  สบานงา

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -   คำว่าผีเสื้อควรใช้ปากกาสีอื่น เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่าง
                    -   ไม่ควรนำชนิดของผีเสื้อมาเยอะ เพราะเด็กไม่สามารถจำแนกชนิดของผีเสื้อได้หมด ควรนำมา 3 ชนิด
                    -   การติดรูปต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็ก ไปทางขวามือของเด็ก
                    -   ครูควรใช้ถามว่าผีเสื้อกลุ่มไหนมีมากกว่ากัน แล้วให้เด็กออกมาจับคู่ 1:1

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

         กลุ่มที่ 3  หน่วยผัก ( ประเภทของผัก ) โดย นางสาวนิศากร  บัวกลาง

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


                    -   ในการประเภทของผักควรแยกเป็น ผักกินใบ กินดอก กินหัว เป็นต้น
                    -   ควรทำตารางเปรียบเทียบและเขียนให้ชัดเจน
                    -   เมื่อเด็กตอบคำถาม ให้จดบันทึกลงไปในแผ่นชาร์ททุกครั้ง
                    -   ควรใช้สื่อของจริงประกอบการสอน

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

         กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหะนะ ( ประเภทของยานพาหะนะ ) โดย นางสาวอารียา  เอี่ยมโพธิ์

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                   -   ใช้เกณฑ์ให้ชัดเจนในการบอกประเภทของยานพาหะนะ ควรใช้การเปรียบเทียบ 3 ชนิด กับเด็กชั้นอนุบาล 3 หรืออนุบาล 2 ตอนปลาย

กิจกรรมเสริมประสบการณ์

      กลุ่มที่ 5 หน่วยกล้วย  ( ชนิดของกล้วย ) โดยนางสาวเนตรนภา  ไชยแดง

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  การเขียนแผ่นชาร์ทเพลงไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง
                    -   การนับจำนวนกล้วย ควรนำมาเป็นลูก ไม่ควรนำมาเป็นหวี เพราะจะทำให้ไม่สามารถนับได้


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

       กลุ่มที่ 6 หน่วยเห็ด  ( ชนิดของเห็ด ) โดยนางสาววรรวิภา  โพธิ์งาม

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                  - ในการนับไม่ควรนำเห็ดที่นับแล้วมาวางซ้อนกัน เพราะเด็กจะมองเห็นไม่ชัดเจน


                   

กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

       กลุ่มที่ 1 หน่วยส้ม  ( เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ) โดย  นางสาวบุษราคัม  สะรุโน

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ปรับปรุงเรื่องการเคาะจังหวะให้มีความแม่นยำมากกว่านี้
                    -   ครูต้องออกคำสั่งให้ชัดเจน
                    -  สอนไม่ตรงตามแผนที่เขียนมา
                    -   เตรียมตัวใหเพร้อมมากกว่านี้ เนื่องจากครูมีความมีตื่นเต้นในการสอน พูดติดขัด



กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

       กลุ่มที่ 2 หน่วยผีเสื้อ ( เคลื่อนไหวประกอบเพลง ) โดย นางสาวสิโรธร  ลอองเอก

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -   ครูจะต้องร้องเพลงหร้อมเด็กพร้อมกับกำกับจังหวะก่อน
                    -    ในการสอนเคลื่อนไหวไม่ต้องมีแผ่นชาร์ทเพลง เพราะเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย
                    -   กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไม่ควรใช่เวลามากเกินไป
                    -   เมื่อแบ่งกลุ่มควรหาเครื่องเคาะจังหวะมาให้เด็ก


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

        กลุ่มที่ 3 หน่วยผัก ( เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม ) โดย นางสาวทิพธิ์มณี  สมศรี

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ในการสอนเคลื่อนไหวไม่ต้องมีแผ่นชาร์ทเพลง เพราะเน้นการเคลื่อนไหวร่างกาย
                    -   ควรให้มีการเปลี่ยนทิศทาง และเปลี่ยนจากการเดิน เป็นเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า ข้างเท้า ที่หลากลาย
                    -   ครูไม่ควรทำท่าทางให้เด็กดู หรืออาจจะให้เด็ก 1 คนออกมาเป็นผู้นำ เพื่อให้ได้ท่าทางที่แปลกใหม่ ผลัดกันประมาร 4-5 คน


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

      กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหะนะ (เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย) โดย นางสาวกมลมาศ   จันทร์ไพศรี

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -   ครูควรเคาะจังหวะให้ชัดเจน
                    -   ครูจะต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กด้วย เช่น เด็กๆจอดรถจักรยานลงไปที่หาดทราย ขณะที่พูด ครูต้องเคาะจังหวะหยุดให้เด็กทันที


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                   
        กลุ่มที่ 5 หน่วยกล้วย ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ) โดย นางสาวอริสสา  ยุูห์นุ

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -   ครูควรเคาะจังหวะหยุด เมื่อต้องการให้เด็กหยุดการเคลื่อนไหวทันที ไม่ควรเว้นระยะในการเคาะจังหวะ


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

       กลุ่มที่ 6 หน่วยเห็ด  ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย ) โดย นางสาวพิชากร   แก้วน้อย

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    - ครูควรออกคำสั่งให้เด็กได้เปลี่ยนทิศทางด้วย



 การนำไปใช้

               การนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองในครั้งต่อไป


 การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป  






















                                                            







    














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น