วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ


วันพุธ  ที่  23  มีนาคม  2559
ครั้งที่  12  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting

 ความรู้ที่ได้รับ

                  เพื่อนๆทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวแและจังหวะ ในวันพุธและวันพฤหัสบดี ดังนี้

  กลุ่มที่ 1 หน่วยส้ม  

( วันพุธ )  การเคลื่อนไหวแบบความจำ  โดย นางสาวมธุรินทร์  อ่อนพิม


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


               -  การหาพื้นที่และบริเวณให้ตัวเอง ครูไม่ต้องเคาะจังหวะ ครูบอกเลยว่าให้เด็กทำอะไร เช่น เดินตามจังหวะที่ครูเคาะ สามารถบอกให้เด็กเปลี่ยนทิศทางได้หลายครั้ง
               -  ครูบรรยายข้ามขั้นตอน ระหว่างที่บรรยายการเก็ผลส้ม สูง ต่ำ ไม่ต้องเคาะจังหวะ
               -ไม่ต้องถามหรือบรรยายว่าส้มมีประโยชน์อะไรบ้าง กิจกรรมนี้ไม่ได้อยู่ในช่วงการ บรรยาย ควรให้เด็กช่วยกันเก้บส้มไปทำน้ำส้มขาย เพราะ น้ำส้มมีระโยชน์ มีวิตามืนซี ไม่เป็นหวัดง่าย ท้องไม่ผูก ทำให้เลือดไม่ออกตามไรฟัน 
               -  ควรสอนตามคำบรรยายที่เขียนในแผน
               -  ครูควรใช้คำพูดให้ถูกต้องในการสอน



( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดย นางสาวสกาวเดือน  สะอิ้งทอง


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ครจะต้องสั่งทีละอย่างเป็นขั้นตอน เช่นส้มจีนให้กระโดด ครูให้เด็กทบทวนส้มจีนแล้วกระโดด แล้ววนกลับไปที่กิจกรรมพื้นฐาน แล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่งเป็นส้มเขียวหวานให้เด็กทำท่าบิน แล้ววนกลับไปที่กิจกรรมพื้นฐาน ทำสลับกันไปจนครบทั้ง 3 ชนิดของส้ม
                    -  ไม่ควรนั่ง เพราะเคลื่อนไหวไม่ได้ ครูควรให้เด็กทำท่าทางที่เคลื่อนไหวได้ เช่น เดิน วิ่ง
                    -  กิจกรรมพื้นฐานจะต้องสอนตามแผนที่เขียนมา
                    -  เวลาเคาะจังหวะ ให้เคาะแต่พอดี ไม่ดังจนเกินไป


   กลุ่มที่ 2 หน่วยผีเสื้อ

( วันพุธ ) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ( เคลื่อนไหวตามคำสั่ง ) โดย นายวรมิตร   สุภาพ

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                  -  เคลื่อนไหวพื้นฐาน  ในการเคาะ หยุด แล้วค่อยเปลี่ยนคำสั่ง เช่น เด็กๆแปลงกลายเป็นไข่ เป็นหนอน ผีเสื้อ ขณะที่เด็กแปลงกายครูจะต้องให้เวลาเด็กได้ทำท่าทางก่อนแล้วค่อยเคาะจังหวะพื้นฐาน



( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  โดย นางสาวนัฐชยา   ชาญณรงค์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  สาระที่ควรเรียนรู้ ต้องเขียนเนื้อหาที่ครูสอน



 กลุ่มที่ 3 หน่วยผัก

( วันพุธ ) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  โดย นางสาวทิพย์มณี   สมศรี


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


                    -  คำบรรยายการเลือกผัก ควรบรรยายผักที่กินหัว คือ แครอท ผิวเนียน มีเนื้อแน่น ผักที่กินผล คือ ฟักทอง มีเนื้อแน่น ผิวไม่ย่น 
                    -  ครูอาจให้เด็กใช้นิ้วดีด เพื่อทดสอบว่าเนื้อแน่นจริงไหม


( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  โดย นางสาวอินธุอร   ศรีบุญชัย


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
              
                   -  ในขณะที่บรรยาย  ครูให้เด็กเก็บผัก ควรให้เด็กนับจำนวนขณะเก็บผักไปด้วย
                   -   เมื่อต้องเก็บมะเขือเทศ ผักบุ้ง ที่อยู่ต่ำ ครูจะต้องให้เด็กนั่งลงเก็บผักและจะได้ไม่ต้องก้มโค้งลงไปเก็บผัก     


 กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพหนะ

( วันพุธ ) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดย นางสาวอรุณี  พนารินทร์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ในกิจกรรมพื้นฐาน ควรมีการเปลี่ยนทิศทาง คือ ซ้าย ขวา หน้า หลัง ครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้าในการเคลื่อนไหวพื้นฐานก็ได้
                    -  ครูต้องระวัง ไม่ให้เด็กชนกันในการเปลี่ยนทิศทาง
                    -  สาระที่ควรเรียนรู้ คือ พลังงานในยานพาหนะ ชนิดต่างๆ เช่น รถยนต์ใช้น้ำมัน 


( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  โดย นางสาวธนาภรณ์   ใจกล้า


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ครูจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะสอนให้เด็กก่อน จึงจะสามารถทำให้เด็กได้รับการสอนที่ถูกวิธี
                    -  กิจกรรมพื้นฐาน ควรมีให้หลากหลาย เช่น เปลี่ยนจากการเดิน กระโดด เป็นควบม้า สลิปต์    
                    -  ในช่วงที่บรรยาย ไม่ต้องเคาะจังหวะ จะเคาะเป็นช่วงๆ เช่นขณะที่เดิน วิ่ง
                    -  คำบรรยาย ควรพูดเกี่ยวกับการสอนล้างรถ ขั้นตอนในการล้างรถ จะเป็นการสอนที่ดีกว่า ไม่ว่าจะทำอะไรเราจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
                    -  อย่าสอนตามความคิดของตนเอง ก่อนจะทำการสอนจะต้องค้นหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนนำมาสอนเด็ก

               
 กลุ่มที่ 5 หน่วยกล้วย

( วันพุธ ) กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดย นางสาวกัญญารัตน์   หนองหงอก


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                  -  ปรับเปลี่ยนคำพูด  ครูเคาะจังหวะ แล้วให้่เด็กหมุนอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย เด็กก็อาจจะหมุน คอ ไหล่ แขน เป็นต้น ต้องเคลื่อนไหวอยู่กับที่
                  -  ไม่ควรทำคำบรรยายติดกันทั้ง 2 วัน เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ อาจให้เด็กแปลงร่างเป็นแม่ค้าขายกล้วยทอด ชาวสวนปลูกกล้วย คนขับรถบรรทุกกล้วย แม่ค้าขายกล้วยแขก เป็นต้น 
                 -  ครูจะต้องพูดโยงเข้าเรื่องประโยชน์ของกล้วยให้ได้ เช่น ทำให้ัท้องไม่ผูก เมื่อสุกนำไปเป็นของหวานทานได้ นำไปแปรรูปได้ ให้เด็กทำในสิ่งที่ครูสั่ง ให้เด็กทำตาม ไม่มีคำบรรยาย 
                 -  เวลาครูใช้คำสั่ง ครูต้องพูดให้เด็กฟังก่อน แล้วค่อยให้เด็กทำตามที่ครูบอก เมื่อครูจะเริ่มคำสั่งใหม่ ครูจะต้องเคาะจังหวะให้กับเด็ก เพื่อที่จะทำได้ถูกต้อง ต้องการให้เด็กรู้จักขั้นตอนในการฟัง
                 -  ครูต้องใส่ใจในเนื้อหาที่สอน วิธีการเลือกซื้อและประโยชน์จะต้องให้ความรู้ที่ถูกต้อง และดีที่สุดสำหรับเด็ก
                 -  ครูต้องหาข้อมูลอ้างอิง เช่น หนังสือ บทความ อินเทอร์เน็ต หาข้อมูลมาแล้ว นำมาสรุปย่อสั่นๆให้เด็กเข้าใจได้ง่าย

( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  โดย นางสาวณัชยา  ตะคุณนะ



คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


                   -  ครูต้องหาวิธีการเลือกซื้อกล้วยมาเพิ่มเติม การบรรยายไม่เจาะลึกลงไปที่วิธีเลือกซื้อกล้วย
                   -  สาระที่ควรเรียนรู้คือ การเลือกซื้อกล้วยควรมีลักษณะอย่างไร ความเขียนอธิบายลงไป


  กลุ่มที่ 6  หน่วยเห็ด

( วันพุธ )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดย นางสาวภัสสร   ศรีพวาทกุล


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                   -  กิจกรรมพิ้นฐาน การกระโดดสามารถให้เด็กเปลี่ยนระดับได้ การเดิน ครูอาจให้เด็กเดินด้วยส้นเท้า หรือปลายเท้าก็ได้
                    -  กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา เพิ่มเติม เช่น เมื่อครูพูดเห็ดนางฟ้า ครูอาจจะเคาะจังหวะไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องหยุด แล้วครูค่อยเปลี่ยนคำสั่ง


( วันพฤหัสบดี )  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดย นางสาวพรวิมล  ปาผล


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  การกระโดด เด็กอาจกระโดดขาเดียวหรือสองขา สลับกันไป ไม่ควรใช้คำสั่งให้กระโดดขาเดียวไปตลอด


 การนำไปใช้

               การนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองในครั้งต่อไป




 การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป  











      










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น