วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ

วันจันทร์   ที่  29  กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่  8  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting

 ความรู้ที่ได้รับ

                    ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในวันอังคารของแต่ละหน่วยโดยอาจารย์ จากนั้นให้ออกมาสาธิตการสอน


          กลุ่มที่ 1 หน่วยผีเสื้อ ( ลักษณะของผีเสื้อ ) โดย นางสาวสิโรธร  ลอองเอก


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
                    -   เพิ่มกราฟฟิกเข้าไปในแผนการสอน
                    -   ไม่ควรสอนเนื้อหาเยอะเกินไป
                    -   การติดรูปต้องติดจากทางซ้ายมือของเด็ก ไปทางขวามือของเด็ก
                    -   ให้ยกตัวอย่างผีเสื้อมา 2 ชนิด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ
                    -   ผีเสื้อนำมาวิเคราะห์พื้นผิวไม่ได้ เพราะไม่ได้ใช้ของจริง ไม่ต้องเขียนหัวข้อลงในแผ่นชาร์ท
                    -  นำชาร์ทลักษณะผีเสื้อขึ้นมาก่อน แล้วใช้คำถามปลายเปิดถามเด็ก

Photobucket - Video and Image Hosting

          กลุ่มที่ 2 หน่วยเห็ด ( ลักษณะของเห็ด ) โดย  นางสาวพิชากร  แก้วน้อย


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                   -  ครูควรพูดในสิ่งที่เหมือนกันก่อนสิ่งที่แตกต่างกัน
                   -  เรียงลำดับการพูดตามแผ่นชาทที่เขียนมา
                   -  เนื้อเพลงที่แต่งควรเขียนในสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมองเห็นชัดเจน
                   -  เมื่อให้เด็กสังเกต ครูควรตั้งคำถามก่อนเสมอ
                     -  การเขียนลักษณะของเห็ดในการเปรียบเทียบบนแผ่นชาทควรเขียนชนิดแรกให้ครบก่อนจึงเขียนชนิดต่อไป

Photobucket - Video and Image Hosting

        กลุ่มที่ 3 หน่วยผัก ( ลักษณะของผัก ) โดย  นางสาวกัญญารัตน์  ถุยเที่ยงสัตย์


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                 -  ในแผ่นชาทคำคล้องจองมีตัวหนังสือเยอะเกินไปควรใช้รูปภาพแทรกบ้าง
                 -   ควรนำของจริงมาให้เด็กดู
                 -   หากมีการชิมรสควรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆและใช้ไม้จิ้ม
                 -   ควรมีแผ่นชาทเพื่อแสดงลักษณะของผัก
                  
Photobucket - Video and Image Hosting


        กลุ่มที่ 4  หน่วยยานพาหนะ ( ส่วนประกอบของยานพาหนะ )

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
             
                 -  สื่อการสอนไม่เพียงพอ ไม่ได้นำรูปภาพมาประกอบการสอน
                 -  สื่อที่ใช้ควรใช้ของจริงหรือของเล่นดีกว่าการใช้รูปภาพ


Photobucket - Video and Image Hosting 

        กลุ่มที่ 5 หน่วยกล้วย  ( ลักษณะของกล้วย ) โดย นางสาวอริสา  ยูห์นุ

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ



                แผ่นชาร์ทคำคล้องจองควรมีรูปภาพประกอบคำ

                 - แผ่นชาร์ทเปรียบเทียบความเหมือน-ต่าง จะต้องมีรูปกล้วยด้วย

                 - คำว่ากล้วยต้องเขียนเป็นสีแดง

                 - ครูต้องถามสิ่งที่เด็กมองเห็นก่อน คือ สี รุปทรง รุปร่าง ขนาด ต่อมาครูถึงส่งกล้วยหอมให้เด็กดูพื้นผิว แล้วปลอกเปลือให้เด็กดูเนื้อกล้วย
                - นำกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วให้เด็กชิม


Photobucket - Video and Image Hosting

 การนำไปใช้
การนำความรู้จากการทดลองสอนของเพื่อนๆและคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆในอานาคต


Photobucket - Video and Image Hosting


 การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป  


Photobucket - Video and Image Hosting
       
               







     

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ

วันจันทร์   ที่  22 กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่ 7  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting


* ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอยู่ในระหว่างการสอบกลางภาค


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สอบกลางภาค



Photobucket - Video and Image Hosting

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

     บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ


วันจันทร์   ที่  15 กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่ 6  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting


   ความรู้ที่ได้รับ

  อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่มและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

  อาจารย์สาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวให้นักศึกษาดูเพื่อเป็นตัวอย่างในการสอน

 จากนั้นให้ตัวแทนของแต่กลุ่มที่สอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในวันจันทร์ออกมาสาธิตการสอนให้เพื่อนๆดูโดยให้เพื่อนๆในห้องสมมติเป็นเด็ก

นักศึกษาสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้

                กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ  ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย )

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
               -  ผู้สอน ควรเขียนคำบรรยายไว้ในภาคผนวกด้วย
               -  ให้เด็กเครื่องไหวจังหวะปกติก่อน เพื่อเปรียบเทียบจังหวะในการเคลื่อนไหวจังหวะเร็ว จังหวะช้า จังหวะปกติจะเป็นเกณฑ์ ในจังหวะปกติหมายถึง การเดินธรรมดา ถ้าสอนในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ให้อธิบายเกณฑ์การเคาะจังหวะด้วย แต่ถ้าเป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ไม่ต้องอธิบายเกณฑ์ เพราะเด็กจะรู้สัญญาณการเคาะของครูแล้ว
               -  การวิ่งแล้วหยุดนิ่ง คือ การที่จะให้เด็กเตรียมความพร้อมเรื่องการทรงตัว ครูจะต้องให้เด็กทำทีละอย่าง ไม่ทำหลายอย่าง เพื่อที่จะสามารถเก็บไว้สอนในวันอื่นได้ 
               - ไม่ควรใช้เวลาเกิน 20 นาที

             กลุ่มที่ 2 หน่วยผัก  ( เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย )

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
                -  ขณะที่ทำการสอนจะต้องนึกถึงหลักความเป็นจริงว่าผัก ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ครูจะต้องหาวิธีการให้ผักเคลื่อนที่ได้ เช่น ให้เด็กเป็นคนขายผักนำผักติดตัวไปด้วย เด็กก็จะมีวิธีการถือผักที่แตกต่างกัน โดยครูอาจบอกว่า ไม่ให้เด็กใช้มือถือผัก เด็กๆจะมีวิธีอย่างไรที่จะนำผักติดตัวไปด้วย เช่น หนีบไว้ที่แขน คาบไว้ที่ปาก หนีบไว้ที่ขา เป็นต้น
                 -  ครูจะต้องสอนตามแผนที่เขียนมา

             กลุ่มที่ 3 หน่วยผีเสื้อ  ( เคลื่อนไหวแบบความจำ ) 

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
                   - ครูควรมีการเคาะจังหวะที่หลากหลาย

                กลุ่มที่ 4 หน่วยเห็ด  ( เคลื่อนไหวตามเพลง )

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ
                - ถ้าจะให้เด็กเคลื่นไหวตามจินตนาการครูไม่ควรบอกควรให้เด็กๆคิดเองตามจินตนาการของเขา
                - ครูควรมีวิธีการเคาะที่หลากหลายในการเคลื่อนไหวของเด็ก


Photobucket - Video and Image Hosting

 การนำไปใช้

               การนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองในครั้งต่อไป


Photobucket - Video and Image Hosting

 การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป  


Photobucket - Video and Image Hosting




วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ

วันจันทร์   ที่ 8 กุมภาพันธ์  2559
ครั้งที่ 5  เวลา  14.30 - 17.30 น.


Photobucket - Video and Image Hosting


 ความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนๆแต่ละกลุ่อออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มตนเองให้เพื่อนๆฟัง จากนั้นอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนแต่กลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงแผนของตนเองให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น...

อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้

- การเขียน mind maping หน่วยการเรียนรู้
- แนวคิด
- ประสบการณ์สำคัญ ( นำมาให้หมดแล้วเลือกแค่หัวข้อที่ตรงกับแผนการสอนของตนเอง )
- กรอบพัฒนาการ ( นำมาจากเล่มหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย2546 )
- การบูรณาการรายวิชาอื่น
     คณิตศาสตร์
         - จำนวนและการดำเนินการ
         - การวัด
         - เรขาคณิต
         - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
         - ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
      วิทยาศาตร์
         - กระบวนการทางวิทยาศาตร์  
         - การเปลี่ยนแปลง ( การเจริญเติบโต )
         - การคาดคะเน
         - การสังเกต
       สังคม
         - การมีส่วนร่วมในการทำงาน
         - การทำศิลปะแบบร่วมมือ/นิทาน
        พลศึกษา
         - การเคลื่อนที่
         - การรักษาความสะอาด
         - สุขภาพอนามัย
        ศิลปะ
         - การทำของเล่นต่างๆที่สอดแทรกวิทยาศาตร์
        ภาษา
         - การฟังนิทาน/คำคล้องจอง
         - การพูดนิทาน/ คำคล้องจอง
         - การอ่าน ( ภาพ สัญลักษณ์ )
         - การเขียน ( ภาพ ภาษา คำ )
 - web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ( ในกิจกรรมเสรี ควรเพิ่มมุมประสบการณ์เกี่ยวกับหน่วยการเรียน

   ต่อมาเป็นการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนการสอนในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเสริมประสบการณ์
  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
         วัตถุประสงค์ ( แบ่งเป็น 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ) *เน้นด้านร่างกายเป็นอันดับแรก
         สาระที่ควรเรียนรู้ ( เนื้อหาที่เราจะสอนคร่าวๆ )
         ประสบการณ์สำคัญ ( แบ่งเป็น 4 ด้าน ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และ ด้านสติปัญญา )
         กิจกรรมการเรียนรู้
                 - กิจกรรมพื้นฐาน : การเดิน วิ่ง กระโดด สคิป ย่อง กระต่ายขาเดียว เดินด้วยส้นเท้า,ปลายเท้า,ข้างเท้า)
                - กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา : ให้เด็กๆทำตามกิจกรรมพื้นฐานจากนั้นครูออกคำสั่งตามเนื้อหาที่ครูจะสอนโดยใช้คำว่าเปลี่ยนในระดับ
               - กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ : การให้เด็กๆได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังจากการทกิจกรรมโดยการนอนนิ่งๆ การนวดแขน ขา เป็นต้น

     กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ห้ามใช้ป้ายนิเทศเป็นสื่อการสอน ในการสอน ขั้นนำให้ใช้เพลงหรือคำคล้องจองในการสอน ครูอาจจะนำสื่งของมาให้เด็กดู อาจให้เด็กทุกคนทายก็ได้ ถ้าใครตอบถูกก็ปรบมือให้ตนเอง 
*การฝึกได้เด็กได้สังเกต การแยกประเภท การนับ การเปรียบเทียบ ( การนับ1ต่อ1 )

      กิจกรรมสร้างสรรค์
ในระดับชั้นปฐมวัย ควรมีกิจกรรมทั้งหมด 3 -4 กิจกรรม  คือ มีกิจกรรมพื้นฐาน 2 -3  กิจกรรม คือ การวาดภาพ การปั้นดินน้ำมัน  และกิจกรรมพิเศษ 1 กิจกรรม

      กิจกรรมเกมการศึกษา
เกมพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เกมจับคู่ เกมเรียงลำดับภาพ เกมความสัมพันธ์ เกมลอตโต เป็นต้น


Photobucket - Video and Image Hosting

  การนำไปใช้
- การนำความรู้ในด้านการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในอนาคตให้มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
- การนำรายวิชาอื่นๆมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมต่างๆ
- การเขียนแผนการสอนและการดำเนินการสอนในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะและกิจกรรมเวริมประสบการณ์
- การนำไปประยุกต์ในรายวิชาอื่นๆ



Photobucket - Video and Image Hosting

 การประเมิน

  ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป รับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป



Photobucket - Video and Image Hosting