วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.จินตนา สุขสำราญ


วันจันทร์  ที่  18  เมษายน  2559
ครั้งที่  16  เวลา  14.30 - 17.30 น.

Photobucket - Video and Image Hosting
  ความรู้ที่ได้รับ

               ทดลองสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์  ดังนี้


                    -  หน่วยยานพาหนะ (ข้อพึงะวัง)
                    -  หน่วยส้ม (น้ำส้มคั้น)
                    -  หน่วยกล้วย ( กล้วยเชื่อม)
                    -  หน่วยผีเสื้อ (  ขนมปังปิ้งราดซอสช็อกโกแลตรูปผีเสื้อ )


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ ( ข้อพึงระวัง ) โดย นางสาวประภัสสร  หนูศิริ



คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ


                    -  ควรใช้นิทานที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอน
                    -  ใช้คำถามให้เด็กได้ฝึกคิด
                    -  สื่อ นิทานที่นำมาควรทำให้มีมิติขั้นมา
                    -  ควรสอนเด็กนักเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับกฏจราจรง่ายๆในการขับรถ
                    -  ควรสอนให้เด้กรู้สัญญาณไฟจราจร ไฟแดง ไฟเหลือง ไฟเขียว ว่าคืออะไร




กิจกรรมเสริมประสบการณ์

  กลุ่มที่ 2 หน่วยส้ม ( น้ำส้มคั้น ) โดย นางสาวบุษราคัม  สะรุโน

คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ควรแยกส่วนผสม และอุปกรณ์ ให้ชัดเจนและถูกต้อง

                    -  ใช้คำถามให้เด็กได้ฝึกคิด "ว่าส่วนผสมและอุปกรณ์ที่เตรียมมานเราสามารถทำอะไรได้บ้าง" 
                    -  ครูควรบอกอัตราส่วนในการผสมด้วย เพื่อเป็นการบูรณาการทางคณิตศาสตร์

                    -  ขั้นตอนในการทำ ไม่ควรเขียนเป็นความเรียงมาอย่างเดียว เพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก ควรมีรูปประกอบ เพิ่อให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น

                    -  อะไรที่มีขั้นตอนที่แน่นอน ครูต้องสาธิตวิธีการทำให้ชัดเจน แล้วแบ่งกลุ่มให้เด็กออกมารับอุปกรณ์ไปทำตามขั้นตอนที่ครูสาธิตไป เมื่อทำเสร็จให้ออกมาเอาน้ำแข็งที่ครู

                    -  ถ้าครให้เด็กทำครบทุกกลุ่มแล้ว แต่ละกลุ่มได้น้ำส้มครึ่งแก้ว เสร็จแล้วนำน้ำส้มของแต่ละกลุ่มมาเทรวมกันที่หน้าห้อง ก็จะได้น้ำส้มแก้วใหญ่ แล้วยังได้บูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปอีกด้วย นอกจากนำน้ำส้มมาเทรวมกันได้แล้วก็สามารำนำมาแบ่งกัน เพื่อให้เด็ได้ชิมทุกคน

                    -  หลังจากสอนเสร็จครูต้องพูดสรุปให้เด็กฟังอีกว่า "ถ้าเราจะทำน้ำส้มเราควรทำอย่างไรบ้างคะ"


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 3 หน่วยกล้วย ( กล้วยเชื่อม ) โดย นางสาว สุธิดารัตน์  เกิดบุญมี


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                   -  แผ่นชาร์ทต้องเขียนสัดส่วนที่จะใส่ผสมลงไปให้ชัดเจน

                   -  ในการเขียนแผ่นชาร์ทให้เขียนส่วนผสมไล่ลงมา ไม่ควรเขียนเป็นแถวสองฝั่ง 

                   -  ก่อนการทำ Cooking ครูจะต้องเตรียมตัวโดยการฝึกลองทำมาก่อน แล้วค่อยสอนให้เด็กทำจริง
                   -  ขั้นตอนในการทำ ครูอาจแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม กลุ่มนึงวาดภาพอุปกรณ์ ส่วนผสม และเขียนสัดส่วน อีกกลุ่มนึงหั่กล้วย อีกกลุ่มนึงดูวิธีการทำจากครู

                   -  ก่อนการทำ Cooking ครูต้องแนะนำอุปกรณ์และข้อควรระวังให้เด็กรู้ด้วย    

                   -  ครูจะต้องพูดถึงทักษะกระบวนการทางวืทยาศาสตร์ ต้องกำหนดประเด็นปัญหาก่อน เช่น "จะทำอย่างไรถึงจะทำให้กล้วยสุก" "ทำอย่างไรถึงจะทำให้กล้วยเป็นของหวานได้"

                   -  ครูต้องตั้งประเด็นปัญหาให้เด็กรู้จักคิด ต่อมาตั้งสมมติฐาน เช่น "ถ้านำกล้วยไปใส่ในน้ำเชื่อมจะเกิดอะไรขึ้น"  ต่อมาครูให้เด็กลงมาปฎิบัติ โดยการเอากล้วยใส่ลงไปในกระทะแล้วให้เด็กสังเกต เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างที่ทำครูและเด็กต้องเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อทดสอบสมมติฐาน แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกล้วยว่า "ถ้ากล้วยสุก กล้วยจะมีสีอย่างไร"

                    -  ครูควรให้เด็กแต่ละกลุ่มสบลับหน้าที่กัน เพื่อที่ทุกคนจะได้ทำทุกอย่าง


กิจกรรมเสริมประสบการณ์

 กลุ่มที่ 4 หน่วยผีเสื้อ ( ขนมปังปิ้งราดซอสช็อกโกแลตรูปผีเสื้อ )


คำแนะนำ/ข้อเสนอแนะ

                    -  ควรแยกแผ่นชาท อุปกรณ์/วัตุถุดิบ วิธีการทำ ไว้คนละแผ่น


                    -  ขั้นนำ ครูแนะนำวัสดุ อุปกรณ์ และใช้คำถามถามเด็กว่า "อุปกรณ์ที่นำมาสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง"  ขั้นสอนครูสาธิตขั้นตอนการทำ แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม โดยให้กลุ่มที่

                         1. วาดรูปส่วนผสมและอุปกรณ์

                         2.นำขนมปังเข้าเครื่องปิ้ง

                         3.ทาเนย

                         4.วาดรูปผีเสื้อลงบนขนมปัง แล้วให้เด็กเปลี่ยนกันจนครบทุกกลุ่ม

                    -  การกำหนดปัญหา เช่น จะทำอย่างไรให้ขนมปังสุกหรือทำอย่างไรให้ขนมปังร้อน เมื่อเด็กปิ้งขนมปังแล้วเราจะต้องตั้งสมมติฐาน ครุควรถามเด็กว่า เด็กๆคิดว่าขนมปังจะเกิดอะไรขึ้นถ้ามันร้อน ต่อมาก็พาเด็กมาทดลอง ครูต้องให้เด็กสังเกตว่าถ้าขนมปังสุกจะมีสีอย่างไรหรือถ้าขนมปังสุกจะมีกลิ่นอย่างไร แล้วให้เด็รวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตจากการทำขนมปังปิ้ง



 การนำไปใช้

               การนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองในครั้งต่อไป


 การประเมิน

 ประเมินตนเอง : ให้ความสนใจในการเรียนและการสอนของเพื่อนๆแต่ละกลุ่ม และรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้แล้วนำมาปรับใช้ในการสอนของตนเองในครั้งต่อไป

  ประเมินเพื่อน :  เพื่อนที่ออกมาทดลองสอนก็ทำการสอนด้วยความตั้งใจทุกกลุ่มและเมื่อได้รับคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะจากอาจารย์เพื่อนก็นำไปปรับปรุงและพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป
  ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีแก่นักศึกษาเพื่อนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป  



























       


               





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น